ผู้ผลิต

สมัครรับจดหมายข่าว

วัดจำปา south25

วัดจำปา south25

วัดจำปา ตำบลทุ่ง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (view more...)

Wat Champa Changwat Surat Thani

(June 2011)

รายละเอียดเพิ่มเติม


฿30

1 รายการในร้านค้า

สินค้าชิ้นสุดท้านในร้าน

วัดจำปาเป็นวัดเก่าแก่ที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๙ สิ่งสำคัญภายในวัดได้แก่ วิหารโบราณลวดลายเครื่องไม้จำหลักที่สวยงามอายุประมาณสมัยอยุธยาตอนปลาย มีโครงสร้างแบบไม่ใช้ตะปูยึด สร้างจากไม้เนื้อแข็ง เดิมเป็นอาคารไม่มีฝา แต่ปัจจุบันปรับปรุงให้มีฝาพร้อมหน้าต่างล้อมรอบ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายสีแดงขนาดต่าง ๆ จำนวน ๑๐ กว่าองค์ นอกจากนี้ เว็บของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานียังบอกอีกว่า มีบานประตูไม้แกะสลักรูปเทวดาประทับยืน เครื่องทรงตกแต่งลวดลายด้วยกระจกสี ๒ บาน บานหนึ่งหายไป อีกบานเก็บอยู่ที่พิพธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา บานประตูที่วิหารเป็นของทำขึ้นใหม่ และยังมีศิลาจารึกทำจากหินทรายสีแดงขนาด ๓๖ เซนติเมตร สูง ๗๔ เซนติเมตร และหนา ๑๑ เซนติเมตร เป็นสิ่งสำคัญของวัด ศิลานี้จารึกอักษรขอมภาษาไทยสมัยธนบุรี ปัจจุบันเก็บอยู่ที่วัดสมุหนิมิต ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จารึกมีข้อความโดยสังเขป "ปี พ.ศ. ๒๓๑๔ อาจารย์วัดจำปา ภิกษุสามเณรและสีกาบุญรอดนำหินจากเขาโพมาสร้างแล้วนำไปประดิษฐานที่ถ้ำศิลาเตียบ ต่อมาได้เปลี่ยนที่ประดิษฐานเป็นถ้ำวิหารพระโต" จารึกวัดจำปานี้ยังมีอีกหลักหนึ่ง เป็นจารึกของการสร้างวัดจำปาเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไชยา เป็นหินทรายสีเทา รูปใบเสมาขนาดกว้าง ๓๓ เซนติเมตร สูง ๖๖ เซนติเมตร เป็นอักษรขอมภาษาไทย ระบุศักราช พ.ศ. ๒๓๐๔ กล่าวถึงมหาจันธง เจ้าปณจน และอำแดงเพชรทองทำบุญ โดยการถวายที่ดิน กระบือและข้าทาสแก่วัด ข้อความต่าง ๆ เหล่านี้ thaiphosite ได้อ่านจากเว็บหลายเว็บแล้วนำมาปะติดปะต่อเป็นเรื่องราวบอกเล่า ไม่อาจยืนยันความถูกต้องได้ทั้งหมด เพราะบางครั้งอ่านแล้วสับสนอยู่เหมือนกัน เอาเป็นว่า วัดจำปาเป็นวัดโบราณสมัยอยุธยาตอนปลาย วิหารที่สร้างตั้งแต่ครั้งนั้นยังคงมีให้เห็นอยู่ แม้ได้เปลี่ยนแปลงไปบ้างเพื่อความอยู่รอดของโครงสร้างทั้งหมด เพื่อให้สะดวกแก่การใช้งานและดูแลรักษา หากวิหารไม่มีฝาเช่นกาลก่อน พระพุทธรูปโบราณที่มีอยู่อาจเสื่อมสภาพหรือสูญหายได้

ตะกร้า  

ว่าง

สินค้าใหม่

No new products at this time

สินค้าที่เคยดูแล้ว